ภูกระดึง ภูเขาที่มีความมหัศจรรย์ ของเมืองเลย
กันว่า....หากอยากพิสูจน์รักแท้ ให้พาคนที่เรารักไปร่วมพิสูจน์รักด้วยการเดินทางพิชิตยอดภูของ อุทยานแห่ง ชาติภูกระดึง และถ้าหากเขาคนนั้น สามารถร่วมเดินทางไปกับคุณจนกระทั่งถึงยอดดอย และคอยช่วยเหลือดูแลกันและ กันเป็นอย่างดีแล้วล่ะก็ เขาก็คือรักแท้ของเราเป็นแน่แท้!!!
กันว่า....หากอยากพิสูจน์รักแท้ ให้พาคนที่เรารักไปร่วมพิสูจน์รักด้วยการเดินทางพิชิตยอดภูของ อุทยานแห่ง ชาติภูกระดึง และถ้าหากเขาคนนั้น สามารถร่วมเดินทางไปกับคุณจนกระทั่งถึงยอดดอย และคอยช่วยเหลือดูแลกันและ กันเป็นอย่างดีแล้วล่ะก็ เขาก็คือรักแท้ของเราเป็นแน่แท้!!!
นี่คือตำนานคำกล่าวขานที่มักได้ยินเสมอๆ เมื่อเอ่ยถึง ภูกระดึง หรือ อุทยานแห่งชาติภูกระดึง ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะการที่เราจะขึ้นไปถึงยอดดอยได้ ต้องเดินเท้าเป็นระยะทางกว่า 9 กิโลเมตร คือขึ้นเขา 5 กิโลเมตร บวกทางราบอีกประมาณ 3-4 กิโลเมตร (โห...ไหวไหมเนี่ย) ซึ่งนอกจากจะมีคู่รัก
ไปสัมผัสพิสูจน์รักแท้แล้ว ภูกระดึง มักจะได้รับความนิยมในการไปแบบกลุ่มเพื่อนๆ อีกด้วย และ
ทุกคนที่ได้ไปสัมผัสต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ตอนเดินเหนื่อยมาก ๆ แต่พอได้ไปสัมผัสกับธรรมชาติข้างบน ภูกระดึง แล้วคุ้มค่าสุด ๆ
แหม ... มีเสียงการันตีความท้าทาย ผจญภัย และน่าไปสัมผัสแบบนี้คงอดใจไม่ได้แล้วที่จะไปศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับภูกระดึง … เอาเป็นว่าเราไปทำความรู้จักอุทยานแห่งนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ
อุทยานแห่งชาติภูกระดึง
ภูกระดึง เป็นอุทยานแห่งชาติ ลำดับที่ 2 ของประเทศไทย ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย เป็นภูเขาหินทรายยอดตัด เป็นที่ราบขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 60 ตารางกิโลเมตร มีความสูง 400-1,200 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ที่ได้รับความนิยมมากแห่งหนึ่งของเมืองไทย จุดสูงสุดอยู่ที่บริเวณคอกเมย มีความสูง 1,316 เมตรจากระดับน้ำทะเล สภาพทั่วไปของภูกระดึง ประกอบไปด้วยพรรณไม้นานาชนิด พันธุ์สัตว์ป่านานาพันธุ์ หน้าผา ทุ่งหญ้า ลำธาร และน้ำตก อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ต้นน้ำของลำน้ำพอง ซึ่งเป็นลำน้ำสายสำคัญสายหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยความสูง บรรยากาศ และสภาพอากาศที่เย็นสบายตลอดปี บนยอด ภูกระดึง โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว อุณหภูมิอาจลดต่ำจนถึง 0 องศาเซลเซียส จึงเป็นแรงจูงใจให้นักท่องเที่ยว ปรารถนาและหวังจะเป็นผู้พิชิตยอด ภูกระดึง สักครั้งหนึ่งในชีวิต
อุทยานแห่งชาติภูกระดึง
ภูกระดึง เป็นอุทยานแห่งชาติ ลำดับที่ 2 ของประเทศไทย ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย เป็นภูเขาหินทรายยอดตัด เป็นที่ราบขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 60 ตารางกิโลเมตร มีความสูง 400-1,200 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ที่ได้รับความนิยมมากแห่งหนึ่งของเมืองไทย จุดสูงสุดอยู่ที่บริเวณคอกเมย มีความสูง 1,316 เมตรจากระดับน้ำทะเล สภาพทั่วไปของภูกระดึง ประกอบไปด้วยพรรณไม้นานาชนิด พันธุ์สัตว์ป่านานาพันธุ์ หน้าผา ทุ่งหญ้า ลำธาร และน้ำตก อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ต้นน้ำของลำน้ำพอง ซึ่งเป็นลำน้ำสายสำคัญสายหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยความสูง บรรยากาศ และสภาพอากาศที่เย็นสบายตลอดปี บนยอด ภูกระดึง โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว อุณหภูมิอาจลดต่ำจนถึง 0 องศาเซลเซียส จึงเป็นแรงจูงใจให้นักท่องเที่ยว ปรารถนาและหวังจะเป็นผู้พิชิตยอด ภูกระดึง สักครั้งหนึ่งในชีวิต
สำหรับการเดินทางขึ้น ภูกระดึง นั้น ทางอุทยานฯ จะอนุญาตให้นักท่องเที่ยวเดินขึ้นได้ตั้งแต่เวลา 07.00 - 14.00 น. ของทุกวัน และหลังจากเวลา 14.00 น. เป็นต้นไป ทางอุทยานฯ จะไม่อนุญาต เพราะระยะทางในการเดินทางขึ้นเขาต้องใช้เวลาในการเดินเท้า ประมาณ 4-5 ชั่วโมง ซึ่งจะตรงกับเวลาพลบค่ำในระหว่างทาง ดังนั้น อาจจะทำให้เกิดความยากลำบาก อีกทั้งอาจได้รับอันตรายจากสัตว์ป่าที่ออกหากินในเวลากลางคืนอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม อุทยานแห่งชาติภูกระดึง จ.เลย จะเปิดฤดูท่องเที่ยวอีกครั้ง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2553 - 31 พฤษภาคม 2554 หลังปิดฟื้นฟูในช่วงฤดูฝน
จุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจบนภูกระดึง
ผานกแอ่น
เป็น ลานหินเล็กๆ มีสนต้นหนึ่ง ขึ้นโดดเด่นอยู่ริมหน้าผา เป็นจุดท่องเที่ยวชมพระอาทิตย์ขึ้น ที่สำคัญอยู่จากที่พักศูนย์วังกวางเพียง 2 กิโลเมตร ในทุกเช้าของหน้าหนาวจะมีนักท่องเที่ยวนิยมถ่ายรูปกันมากและ มักจะมีการชิงทำเลดีๆ เสมอ สมัยนี้ทางไปมักมีช้างอาละวาด ตอนเช้าจะต้องไปพร้อมเจ้าหน้าที่เสมอ ห้ามไปเอง เป็นอันขาด นอกจากนั้น หากอากาศดีพอ ในช่วงเวลาที่เดินเท้าฝ่าความมืดมาชมพระอาทิตย์ขึ้นนั้น เป็นช่วงที่ประจวบเหมาะกับ เวลาที่พระจันทร์กำลังจะลับขอบฟ้า ด้านตะวันตกนั้นจะได้เห็นภาพสวยงามแปลกตาไปอีกแบบ ริมทางเดินใกล้ผานกแอ่นเป็นสวนหินมีดอกกุหลาบป่าขึ้นอยู่เป็นดงใหญ่ ซึ่งจะบานสะพรั่งเต็มต้นในเดือน มีนาคม-เมษายน และใครที่อยากไปชมประอาทิตย์ขึ้นที่ผานกแอ่น ควรเตรียมไฟฉายสำหรับใช้ส่องทางไปด้วย
ผาหล่มสัก
ผาหล่มสัก ถ้าไม่มาชมพระอาทิตย์ตกที่นี่ ก็เหมือนไม่ได้มาเยือนภูกระดึง…หลายคนถึงกับออกปากไว้แบบนั้น ตัวผาหล่มสักอยู่ห่างจากผาแดง 2.5 กิโลเมตร หากเดินมาจากแยกศูนย์โทรคมนาคมกองทัพอากาศ บนเส้นทางน้ำตก แต่ถ้าเดินจากที่พักศูนย์วังกวาง จะมีระยะประมาณ 9 กิโลเมตร หากจะมาต้องเตรียมตัวให้ดี เพราะขากลับจะมืดกลางทางอย่างแน่นอน ด้วยลักษณะแผ่นหินแปลกตากับโค้งกิ่งสนที่รองรับกันพอดิบพอดีเช่นนี้ นักท่องเที่ยวจึงนิยมจะใช้เป็นจุดชมวิว ดูดวงอาทิตย์ตกดิน และน่าจะถือได้ว่าเป็นภาพที่เป็นสัญลักษณ์สำคัญของ อุทยานแห่งชาติภูกระดึง แนะนำสักนิดสำหรับผู้ที่จะไปชมประอาทิตย์ตกที่ผาหล่มสัก ควรเตรียมเสื้อกันหนาวและไฟฉายสำหรับใช้ส่องทางเวลาเดินกลับที่พัก ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้เวลา 2-3 ชั่วโมง
ผาหล่มสัก ถ้าไม่มาชมพระอาทิตย์ตกที่นี่ ก็เหมือนไม่ได้มาเยือนภูกระดึง…หลายคนถึงกับออกปากไว้แบบนั้น ตัวผาหล่มสักอยู่ห่างจากผาแดง 2.5 กิโลเมตร หากเดินมาจากแยกศูนย์โทรคมนาคมกองทัพอากาศ บนเส้นทางน้ำตก แต่ถ้าเดินจากที่พักศูนย์วังกวาง จะมีระยะประมาณ 9 กิโลเมตร หากจะมาต้องเตรียมตัวให้ดี เพราะขากลับจะมืดกลางทางอย่างแน่นอน ด้วยลักษณะแผ่นหินแปลกตากับโค้งกิ่งสนที่รองรับกันพอดิบพอดีเช่นนี้ นักท่องเที่ยวจึงนิยมจะใช้เป็นจุดชมวิว ดูดวงอาทิตย์ตกดิน และน่าจะถือได้ว่าเป็นภาพที่เป็นสัญลักษณ์สำคัญของ อุทยานแห่งชาติภูกระดึง แนะนำสักนิดสำหรับผู้ที่จะไปชมประอาทิตย์ตกที่ผาหล่มสัก ควรเตรียมเสื้อกันหนาวและไฟฉายสำหรับใช้ส่องทางเวลาเดินกลับที่พัก ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้เวลา 2-3 ชั่วโมง
ผาหมากดูก
ผาหมากดูก อยู่ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยว 2.5 กิโลเมตร เป็นผาที่มีลานหินกว้างขวาง เป็นผาสำหรับชมพระอาทิตย์ตกที่ใกล้ที่พักมากที่สุด สามารถชมทิวทัศน์ภูผาจิตในเขตอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว ในช่วงต้นฤดูฝนจะมีดอกกระเจียวขึ้นเต็มทุ่งตามเส้นทางสู่ผาหมากดูก
ผาหมากดูก อยู่ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยว 2.5 กิโลเมตร เป็นผาที่มีลานหินกว้างขวาง เป็นผาสำหรับชมพระอาทิตย์ตกที่ใกล้ที่พักมากที่สุด สามารถชมทิวทัศน์ภูผาจิตในเขตอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว ในช่วงต้นฤดูฝนจะมีดอกกระเจียวขึ้นเต็มทุ่งตามเส้นทางสู่ผาหมากดูก
น้ำตกวังกวาง
ชื่อก็บอกอยู่แล้ว น้ำตกวังกวางอยู่ใกล้ที่พักศูนย์วังกวางมากที่สุด โดยมีระยะทางห่างแค่ราว 1 กิโลเมตรเท่านั้นเอง ห้วยเล็กๆ ที่โอบล้อมที่พักอีกด้านจะไหลลงน้ำตกที่นี่ วังกวางเป็นน้ำตกเล็กๆ ชั้นที่สูงสุด จะสูงประมาณ 7 เมตร ด้านข้างของน้ำตกมีทางแคบๆ สำหรับปีนลงไปทีละคน จะพบหลืบหินมีลักษณะคล้ายถ้ำใต้น้ำตก น้ำตกวังกวางจะมีความสวยงามมากในช่วง ฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - ตุลาคม บริเวณนี้จะมีทากชุม เพราะเป็นด่านช้าง หรือทางช้างเดิน ส่วนในฤดูท่องเที่ยวซึ่งเป็นฤดูแล้ง ปริมาณน้ำค่อนข้างน้อย นักท่องเที่ยวสามารถแวะชมได้ง่ายใกล้ที่พัก
ชื่อก็บอกอยู่แล้ว น้ำตกวังกวางอยู่ใกล้ที่พักศูนย์วังกวางมากที่สุด โดยมีระยะทางห่างแค่ราว 1 กิโลเมตรเท่านั้นเอง ห้วยเล็กๆ ที่โอบล้อมที่พักอีกด้านจะไหลลงน้ำตกที่นี่ วังกวางเป็นน้ำตกเล็กๆ ชั้นที่สูงสุด จะสูงประมาณ 7 เมตร ด้านข้างของน้ำตกมีทางแคบๆ สำหรับปีนลงไปทีละคน จะพบหลืบหินมีลักษณะคล้ายถ้ำใต้น้ำตก น้ำตกวังกวางจะมีความสวยงามมากในช่วง ฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - ตุลาคม บริเวณนี้จะมีทากชุม เพราะเป็นด่านช้าง หรือทางช้างเดิน ส่วนในฤดูท่องเที่ยวซึ่งเป็นฤดูแล้ง ปริมาณน้ำค่อนข้างน้อย นักท่องเที่ยวสามารถแวะชมได้ง่ายใกล้ที่พัก
น้ำตกถ้ำสอเหนือ
อยู่ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยววังกวาง 4.8 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดกลาง สูง 10 เมตร น้ำไหลมาจากผาเป็นม่านน้ำตก บริเวณเหนือน้ำตกมีดงกุหลาบแดง ซึ่งในช่วงฤดูร้อนจะผลิดอกสร้างสีสรรค์ให้ กับบริเวณนี้สวยงามยิ่งขึ้น
อยู่ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยววังกวาง 4.8 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดกลาง สูง 10 เมตร น้ำไหลมาจากผาเป็นม่านน้ำตก บริเวณเหนือน้ำตกมีดงกุหลาบแดง ซึ่งในช่วงฤดูร้อนจะผลิดอกสร้างสีสรรค์ให้ กับบริเวณนี้สวยงามยิ่งขึ้น
น้ำตกเพ็ญพบใหม่
น้ำตกเพ็ญพบใหม่ เกิดจากลำธารวังกวาง น้ำตกผ่านผาหินรูปโค้ง ในหน้าหนาว ใบเมเปิ้ลที่อยู่บริเวณริมน้ำตก จะร่วงหล่นลอยไปตามผิวน้ำยามแดดสาดส่องผ่าน ลงมาจะเป็นสีแดงจัดตัดกับสีเขียวขจีของตะไคร่น้ำตามโขดหิน ลำธารวังกวางเป็นต้นกำเนิดน้ำตกที่มีชื่ออีกแห่งหนึ่ง คือ น้ำตกโผนพบ ซึ่งตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ โผน กิ่งเพชร นักชกแชมป์เปี้ยนโลกคนแรกของชาวไทยในฐานะเป็นผู้ค้นพบคนแรก เมื่อคราวที่ขึ้นไปซ้อมมวยให้ชินกับอากาศหนาว ก่อนเดินทางไปชกในต่างประเทศ
น้ำตกเพ็ญพบใหม่ เกิดจากลำธารวังกวาง น้ำตกผ่านผาหินรูปโค้ง ในหน้าหนาว ใบเมเปิ้ลที่อยู่บริเวณริมน้ำตก จะร่วงหล่นลอยไปตามผิวน้ำยามแดดสาดส่องผ่าน ลงมาจะเป็นสีแดงจัดตัดกับสีเขียวขจีของตะไคร่น้ำตามโขดหิน ลำธารวังกวางเป็นต้นกำเนิดน้ำตกที่มีชื่ออีกแห่งหนึ่ง คือ น้ำตกโผนพบ ซึ่งตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ โผน กิ่งเพชร นักชกแชมป์เปี้ยนโลกคนแรกของชาวไทยในฐานะเป็นผู้ค้นพบคนแรก เมื่อคราวที่ขึ้นไปซ้อมมวยให้ชินกับอากาศหนาว ก่อนเดินทางไปชกในต่างประเทศ
สระอโนดาด
สระอโนดาด อยู่ ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยว 2.7 กิโลเมตร เป็นสระน้ำขนาดไม่ใหญ่นักที่มีต้นสนขึ้นเป็นแนวแน่นขนัด ใกล้กันยังมีลานกินรี ซึ่งเป็นสวนหินธรรมชาติที่อุดมไปด้วยพรรณไม้ ทั้งพวกกินแมลงอย่างดุสิตา หยาดน้ำค้าง หรือเฟิร์น เช่น กระปรอกสิงห์ บนหินยังมีไลเคนขึ้นอยู่เต็มไปหมดด้วย
นอกจากที่เอ่ยมาแล้ว อุทยานแห่งชาติภูกระดึง ยังมีสถานที่น่าสนใจอีกหลายแห่ง เช่น น้ำตกรัตนา น้ำตกถ้ำสอเหนือ น้ำตกพระองค์ น้ำตกธารสวรรค์ ผาแดง ผาส่องโลก ผานาน้อย ผาจำศีล สวนสีดา ลานกินรี ลานวัดพระแก้ว และอีกมากมายบรรยายกันไม่หมด ดังนั้น ใครที่ชอบเดินป่า ปีนเขา และสัมผัสธรรมชาติแบบถึงเนื้อถึงตัว ภูกระดึง คงเป็นอีกหนึ่งสถานที่คุณจะพลาดไม่ได้ค่ะ
การเดินทาง ไปท่องเที่ยวภูกระดึง
รถโดยสารประจำทาง
โดยสารรถยนต์จากสถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต) กรุงเทพมหานคร ไปลงที่ผานกเค้า ซึ่งเป็นเขตต่อแดนระหว่างชุมแพ-ภูกระดึง แล้วโดยสารรถประจำทาง(รถสองแถว) ไปลงที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูกระดึง จากนั้นก็เดินต่อขึ้นไปยอดภูกระดึงควรใช้รถประจำ หรือหากนักท่องเที่ยวใช้รถประจำทางเส้นทางกรุงเทพฯ-ขอนแก่น ลงที่ชุมแพ และต่อรถสายขอนแก่น-เลย ไปลงที่ตลาดอำเภอภูกระดึง ซึ่งจะมีรถสองแถวต่อถึงไปอุทยานฯ ปล. รถสองแถวแดงที่รับจ้างนำนักท่องเที่ยวส่งระหว่างจุดจอดรถที่ผานกเค้ามาที่ ทำการอุทยานแห่งชาติภูกระดึง คำแนะนำคือ ถ้าเรามาไม่กี่คนให้รวมทีมกับกรุ๊ปอื่นจะได้เฉลี่ยค่าสองแถวไม่ต้องเหมารถ ให้เปลืองสตางค์
รถไฟ
จากกรุงเทพมหานครโดยสารรถไฟไปลงที่ขอนแก่น จากนั้นโดยสารรถประจำทางสายขอนแก่น-เลย ไปยังหน้าตลาดที่ว่าการอำเภอภูกระดึง แล้วต่อรถสองแถว หรือเดินทางต่อไปอีกประมาณ 5 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูกระดึง ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นปีนเขาขึ้นยอดภู จากนั้นต้องเดินเท้าขึ้นยอดภู อีก 5 กิโลเมตร จึงจะถึง “หลังแป” แล้วเดินเท้าไปตามทุ่งหญ้าอีก 4 กิโลเมตร ก็จะถึงที่พักบนยอดภูกระดึงทางอุทยานฯ ได้จัดลูกหาบสัมภาระของนักท่องเที่ยวขึ้นไปบนยอดภูกระดึง คิดค่าบริการเป็นกิโลกรัม (วิธีนี้ปัจจุบันไม่ค่อยนิยม)
รถส่วนตัว
เดินทางโดยรถยนต์ สามารถเดินทางได้หลายเส้นทาง
1. เดินทางผ่านจังหวัดสระบุรี เพชรบูรณ์ อำเภอหล่มสัก หล่มเก่า ด่านซ้าย ภูเรือ และอำเภอเมืองเลย เลี้ยวเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201 (เลย-ขอนแก่น) และเลี้ยวเข้าทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2019 เข้าสู่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง
2. ใช้เส้นทางผ่านจังหวัดสระบุรี นครราชสีมา จนถึงจังหวัดขอนแก่นเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201 ผ่านอำเภอภูผาม่านและตำบลผานกเค้า เข้าสู่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง
3. เดินทางผ่านจังหวัดสระบุรี อำเภอปากช่อง เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 201 ผ่านจังหวัดชัยภูมิ อำเภอภูเขียว แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ผ่านอำเภอชุมแพ จากนั้นเดินทางเช่นเดียวกับเส้นทางที่ 2
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ทั้งบนยอดภูกระดึง และบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติซึ่งอยู่ด้านล่าง ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 - 16.30 น.
ค่าธรรมเนียม และ หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
นายดำรงค์ พิเดช อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ลงนามในประกาศกรมอุทยานฯ เรื่องการกำหนดอัตราค่าบริการสำหรับบุคคลเข้าไปในอุทยานฯ จำนวน 33 แห่ง โดยกำหนดอัตราค่าบริการสำหรับบุคคลเข้าไปในอุทยานฯ คือ ชาวไทย ผู้ใหญ่ 100 บาท เด็ก 50 บาท ชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ 500 บาท เด็ก 300 บาท โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555 เป็นต้นไป (อัตราปัจจุบันคือ ชาวไทย ผู้ใหญ่ ราคา 40 บาท เด็ก 20 บาท ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปเข้าฟรี ชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ 400 บาท เด็ก 200 บาท)
อัตราค่าบริการรับจ้างหาบสัมภาระ กิโลกรัมละ 30 บาท
นักท่องเที่ยวที่ประสงค์จะเข้าไปท่องเที่ยวและพักแรมบนยอดภูกระดึง ขอให้ติดต่อ สอบถาม หรือสำรองการเข้าไปใช้บริการล่วงหน้า ทั้งที่พักประเภทเต็นท์ของอุทยานแห่งชาติและพื้นที่กางเต็นท์สำหรับนักท่องเที่ยวที่นำเต็นท์มาเองตามแผนผังจุดพักแรม ก่อนเดินทาง
ได้โดยตรง ณ อุทยานแห่งชาติภูกระดึง โทรศัพท์หมายเลข 0-4287-1333 (ตลอด 24 ชั่วโมง) และหมายเลข 0-4287-1458 ระหว่างเวลา (07.00 น.-16.30 น.)
อัตราค่าบริการรับจ้างหาบสัมภาระ กิโลกรัมละ 30 บาท
นักท่องเที่ยวที่ประสงค์จะเข้าไปท่องเที่ยวและพักแรมบนยอดภูกระดึง ขอให้ติดต่อ สอบถาม หรือสำรองการเข้าไปใช้บริการล่วงหน้า ทั้งที่พักประเภทเต็นท์ของอุทยานแห่งชาติและพื้นที่กางเต็นท์สำหรับนักท่องเที่ยวที่นำเต็นท์มาเองตามแผนผังจุดพักแรม ก่อนเดินทาง
ได้โดยตรง ณ อุทยานแห่งชาติภูกระดึง โทรศัพท์หมายเลข 0-4287-1333 (ตลอด 24 ชั่วโมง) และหมายเลข 0-4287-1458 ระหว่างเวลา (07.00 น.-16.30 น.)
หรือติดต่อ สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ททท. สำนักงานเลย
พื้นที่รับผิดชอบ : เลย,หนองบัวลำภู
ที่ว่าการอำเภอเมืองเลย (ตึกเก่า) ถ.เจริญรัฐ อ.เมือง จ.เลย 42000
โทรศัพท์. 0 4281 2812
โทรสาร. 0 4281 1480
อีเมลล์ : tatloei@tat.or.th
ท้ายสุดฝากไว้ สำหรับเพื่อน ๆ ที่อยากไปท่องเที่ยวสัมผัสธรรมชาติบน ภูกระดึง ควรใช้เวลาอย่างน้อย 3 วัน จึงจะเที่ยวชมธรรมชาติได้ทั่วถึง ซึ่ง อุทยานแห่งชาติภูกระดึง จะเปิดให้เที่ยวบนยอด ภูกระดึง ได้เฉพาะในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤษภาคมเท่านั้น ช่วงระหว่างมิถุนายนถึงกันยายนของทุกปี ทางอุทยานฯ จะปิดเพื่อปรับสภาพธรรมชาติ ให้ฟื้นตัวและปรับปรุงสถานที่พักสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักท่องเที่ยว ฉะนั้น เช็คก่อนออกเดินทางกันด้วยล่ะ
เส้นทางที่ต้องเดินขึ้นที่ยอดภูกระดึง
เป็นเส้นทางเก่าแก่และได้รับความนิยมมากที่สุด นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นเขาในเส้นทางนี้ได้ที่อำเภอภูกระดึง ณ ที่ทำการอุทยาน ในเส้นทางขึ้นจะมีบริเวณที่พักหลายช่วง โดยแต่ละช่วงจะเรียกว่า ซำ ซึ่งหมายถึงบริเวณที่มีน้ำขัง มักเป็นแหล่งที่มีสัตว์ป่ามาพักกินน้ำ ปัจจุบันนักท่องเที่ยวจะต้องผ่านทั้งหมด 7 ซำ ไล่ตามความสูง จากน้อยไปมากได้ดังนี้
ระยะทางเดินขึ้นเขา 5.5 กม. ทางราบ 3.5 กม.
ซำแฮก คำว่า แฮก นักท่องเที่ยวทั่วไปมักล้อเลียนว่ามีความหมายถึงอาการหอบ (ซึ่งคนเรามักจะออกเสียง แฮกๆ) แต่ในความเป็นจริงแล้ว คำว่า แฮก นี้หมายถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในภาษาท้องถิ่น ระยะทางที่ต้องเดินจากที่ทำการไปยังซำแฮกยาวประมาณ 1 กิโลเมตร
ซำบอน หมายถึงบริเวณที่ต้นบอนขึ้นเยอะ ระยะทางที่ต้องเดินจากซำแฮกไปยังซำบอนยาวประมาณ 700 เมตร
ซำกกกอก หมายถึงบริเวณที่ต้นมะกอกขึ้นเยอะ ระยะทางที่ต้องเดินจากซำบอนไปยังซำกกกอกยาวประมาณ 360 เมตร
ซำกกหว้า หมายถึงบริเวณที่ต้นหว้าขึ้นเยอะ. ระยะทางที่ต้องเดินจากซำกกกอกไปยังซำกกหว้ายาวประมาณ 880 เมตร
ซำกกไผ่ หมายถึงบริเวณที่ต้นไผ่ขึ้นเยอะ ระยะทางที่ต้องเดินจากซำกกหว้าไปยังซำกกไผ่ยาวประมาณ 580 เมตร
ซำกกโดน ระยะทางที่ต้องเดินจากซำกกไผ่ไปยังซำกกโดนยาวประมาณ 300 เมตร
ซำแคร่ ระยะทางที่ต้องเดินจากซำกกโดนไปยังซำแคร่ยาวประมาณ 588 เมตร
โดยนักท่องเที่ยวจะต้องเริ่มจากที่ทำการไปยังซำแฮก และเดินขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึงซำแคร่ ในแต่ละซำจะมีร้านค้าคอยให้บริการนักท่องเที่ยวเพื่อพักรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่ม และห้องน้ำ โดยหลังจากซำแคร่ซึ่งเป็นซำสุดท้ายนักท่องเที่ยวก็ต้องขึ้นไปอีกประมาณ 1020 เมตร เพื่อเข้าสู่ยอดเขาในส่วนที่เรียกกันว่าหลังแป ทางที่จะขึ้นไปยัง ซำแฮก และ หลังแป จะเป็นเส้นทางที่มีความชันมากที่สุด หลังจากขึ้นถึงหลังแป นักท่องเที่ยวต้องเดินทางราบอีกประมาณ 3.6 กิโลเมตรเพื่อไปยังศูนย์บริการนักท่องเที่ยวบนยอดเขา เพื่อตั้งเต๊นท์หรือ ที่พักอาศัยอื่นๆ ณ จุดยอดเขานี้นักท่องเที่ยวจะสังเกตเห็นป่าสนมากมายเรียงรายกันตลอดทาง
เตรียมตัวก่อนขึ้นภูกระดึง
เตรียมตัวก่อนขึ้นภูกระดึง ระยะทางเดินขึ้นเขา 5.5 กม. ทางราบ 3.5 กม.
สิ่งสำคัญที่ต้องเตรียมไปได้แก่
- เสื้อกันหนาว เอาแบบที่กันลมหนาวดีๆ นะครับ ถ้าจะให้ดีเอาแบบที่มีฮู้ดด้วยจะดีมาก เผื่อเอาไว้ใช้แทนหมวกในกรณีที่หมวกหาย หรือลืมหมวก
- หมวกไอ้โม่ง หรือไม่ก็หมวกไหมพรม แต่ส่วนใหญ่จะเห็นเป็นแฟชั่น ก็คือหมวก ไหมพรมที่มีขายอยู่แทบทุกร้าน มีปัก คำว่าภูกระดึงด้วย จะซื้อเป็นที่ระลึกหรือของฝาก ก็ดีเหมือนกัน เอาไว้ใส่เวลาไปเที่ยว จะได้ปิดหู มิฉะนั้นเวลาโดน อากาศหนาวๆ เย็นๆ หู อาจจะแข็งได้
- ถุงมือ เอาไว้กันหนาวมือน่ะครับ ถ้าไม่ได้เตรียมไป หาซื้อได้ที่ร้านบนภู ราคาประมาณ 25 บาท
- ยาคลายกล้ามเนื้อ ซึ่งถ้าไม่ได้เตรียมไปหาซื้อได้ที่ร้านบนภู ราคาเม็ดละ 10 บาท
- ยานวด จำพวกเค้าเตอร์เพลน เอาไว้นวดกล้ามเนื้อที่ปวดเมื่อย
- ผ้ายืดสำหรับพันขา อาจได้ใช้ในการขึ้น-ลงภู เพราะว่าบางรายอาจมีอาการปวดมาก ถ้าได้ผ้ายืดจะช่วยได้มาก
- ถุงเท้า เอาไว้ใส่แทบจะทุกช่วงของวัน ช่วงกลางวันถ้าใส่รองเท้าผ้าใบก็ควรจะใส่ถุงเท้าด้วย ช่วงกลางคืนก็เอาไว้ใส่
ตอนนอน จะกันหนาวเท้าได้ดีเช่นกัน
- โลชั่นทาหน้า มิฉะนั้นจะกลับมาหน้าไหม้เพราะลมหนาว แสบมากๆ จะได้รักษาหน้าให้ หล่อสวยด้วยนะครับ
- ลิปมัน ทาริมฝีปากกันปากแตก เพราะถ้าแตกแล้วจะกินอะไรไม่อร่อย แล้วก็รำคาญอีกต่างหาก
- ไฟฉาย และถ่านไฟฉายที่มีอายุการใช้งานนานๆ เพราะต้องใช้เวลาไปดูพระอาทิตย์ขึ้น หรือใช้ขากลับหลังจากดูพระอาทิตย์ตก หรือถ้าจะต้องไปไหนหลังจากช่วง 4 ทุ่มแล้ว เพราะหลังจาก 4 ทุ่ม ทางอุทยานฯ จะดับไฟ จะมีไฟแต่ที่ศูนย์บริการนักเที่ยว และที่ห้องน้ำเท่านั้น
- ที่ชาร์จแบตเตอร์รี่โทรศัพท์มือถือและกล้อง เอาไว้ไปขอบริการชาร์จได้ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ซึ่งสามารถใช้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง แต่เต้าเสียบจะมีจำกัด ดังนั้นจะต้องเลือกช่วงเวลา ที่จะไปชาร์จดีๆ และเราต้องอยู่เฝ้าที่ชาร์จเองด้วย ไม่มีคนดูให้นะครับ อย่างเราจะชอบไปชาร์จ ตอน 3 ทุ่ม หรือกว่านั้น เพราะแทบจะไม่มีคนเลย แต่ช่วง9-10 โมงเช้า จะค่อนข้างมีคนใช้บริการ เยอะ เผลอๆ ไม่มีเต้าเสียบเหลืออีก ก็ต้องรอกันไป นอกจากนี้ก็สามารถใช้ บริการที่ร้านต่างๆ บนภูได้เช่นกัน บางร้านอาจให้บริการฟรี บางร้านอาจคิดเงิน แต่ร้านค้าก็จะมีไฟฟ้าใช้แค่ ช่วง 6โมงเย็น ถึง 4 ทุ่มเท่านั้นนะครับ
- สบู่หรือครีมอาบน้ำที่ล้างออกง่ายๆ เนื่องจากจะได้ไม่ต้องทนหนาวกับน้ำที่ล้างตัวมากเกินไป ถ้าไม่เชื่อจะลองก็ได้นะครับ แล้วจะรู้ว่าหนาวจนปวด หรือที่เรียกกันว่าหนาวจนเข้ากระดูก น่ะเป็นอย่างไร อิอิ จากนั้นก็เตรียมตัวเดินทางกันเลยครับ