728x90 AdSpace

---Advertisement---
You are here: Home / , ประวัติงานบุญประเพณี บุญเดือนหก "ผีขนน้ำบ้านนาซ่าว"

ประวัติงานบุญประเพณี บุญเดือนหก "ผีขนน้ำบ้านนาซ่าว"

การละเล่นผีขนน้ำ
ผีขน เป็นการละเล่นตามประเพณีท้องถิ่นของบ้านนาซ่าว ตำบลนาซ่าว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ที่ได้ก็ต่อเมื่อวัดใหญ่ (วัดมหาธาตุ เชียงคาน สร้าง พ.ศ.2197)  ได้จัดงานวันวิสาขบูชา วันเพ็ญเดือนหกผ่านพ้นไปแล้วต่อจากนั้นชาวบ้านนาซ่าวจึงกำหนดเอาวันแรม 1-3 ค่ำ เดือนหกของทุกปีเป็นวันสำคัญในการจัดงานบุญประเพณีพร้อมมีการละเล่นผีขนน้ำ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้าน
รูปร่างลักษณ์ของ “ผีขน” 

 ผีขน  ประกอบด้วยหน้ากากที่ทำขึ้นจากไม้งิ้ว  (ไม้นุ่น)  ไม้ตีนเป็ด  (ไม้พญาสัตบรรณ)  ซึ่งเป็นไม้เนื้ออ่อน มาถากแต่งเป็นใบหน้าคล้ายหน้า วัว ควาย ทำจมูกติดใบหู ติดเขา ผึ่งให้แห้งแล้วจึงลงสีสันแต่งแต้ม เขียนตาดุ ๆ ให้ดูน่าเกรงขาม  แต่เขียนปาดอมยิ้มเหมือนเมตตาปราณี ส่วนเขาต่อมานิยมให้ใช้หวายมาตรึงติดกับหน้ากากให้ปลายทั้งสองข้างแยกออกจากกันใช้เชือกมัดลำหวาย ให้โค้งเข้าหากันพองามเหมือนกับเขาควายที่โค้ง  และใช้กระดาษสีต่าง ๆ ตัดเป็นริ้ว ๆ เว้นระยะห่างกันเล็กน้อย เมื่อผู้ใส่หน้ากากเดินหรือเต้น กระดาษจะพลิ้วปลิวไสวตามจังหวะดูสวยงามดี  หน้ากากผีขนน้ำมีน้ำหนัก  จึงไม่ได้สวมใส่  แต่จะวางกึ่งเทินไว้บนหัว  ใช้เชือกผ้าร้อยรัดคาง  มีกระดิ่งหรือขิก  เขรบ  หรือกระป๋องใส่ก้อนกรวดผูกห้อยไว้ที่เอว  เวลาขยับหรือเต้นทำให้เกิดเสียงดังสำหรับเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายจะต้องใช้ผ้าริ้วเย็บกันให้เหมือนขนสัตว์  ทั้งนี้เนื่องจากผีขนเกิดขึ้นจากความเชื่อว่าสัตว์ที่มีคุณประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ เช่น วัว ควาย เมื่อตายไปวิญญาณที่หาที่กำเนิดไม่ได้  จะล่องลอยวนเวียนอยู่ในบริเวณที่เคยเป็นที่อยู่อาศัยครั้นถึงเดือนหก (เดือนพฤษภาคม)  ได้พบเห็นผู้คนที่ไปอาบน้ำ ไปตักน้ำ เก็บผักหักฟืนหรือเดินกลับบ้านผ่าน  ห้วย หนอง คลอง บึง แม่น้ำ วิญญาณส่วนใหญ่เป็นควายก็ลุกขึ้นจากน้ำเดินตามคนเข้าบ้าน   ดังนั้นผีขนจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  “ผีขนน้ำ”  เพราะขึ้นมาจากน้ำหรืออีกนัยหนึ่งเมื่อมีการละเล่นผีขน  ฝนมักจะตกในวันแห่ผีขนทุกปีไม่เคยขาด  จึงเรียกว่า  “ผีขนน้ำ”

ช่วงระยะเวลาของการละเล่น
จากคำบอกเล่าของผู้สูงอายุและผู้สูงอายุและผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้จดจำนำมาเล่าสืบทอดต่อกันมา สันนิษฐานได้ว่าการละเล่นผีขนหรือผีขนน้ำ  จะต่อเนื่องมาจากการทำบุญเลี้ยงหอเจ้าปู่ เจ้าย่า ซึ่งมีการเซ่นไหว้เป็นประจำทุกปีโดยมีจ้ำ (คนทรงมีชื่อเรียกเฉพาะว่า นางบัว)  เป็นผู้นำในการประกอบพิธีกรรมก่อนบุญเดือนหกวิญญาณศักดิ์สิทธิ์จะบอกกล่าวให้ชาวบ้านได้ทราบถึงภาวะดินฟ้าอากาศ  ความเป็นอยู่ ความเจริญของหมู่บ้านไปจนถึงเรื่องของแต่ละครอบครัว  แต่ละบุคคลผ่านบัวนาง ซึ่งเป็นร่างทรงจนพึงพอใจทั่วกัน ครั้นถึงเวลากลับจะบอกให้ผู้คนที่มาสักการะให้ทราบเป็นการล่วงหน้าว่า บุญเดือนหกให้หาแมงหน้างาม (ผีขนน้ำ)  ไปเล่นบุญให้มากๆ ฝนฟ้าจะได้ตกต้องตามฤดูกาล  ซึ่งจะมีการละเล่น  3  ถึง  5  วัน  ตามความเหมาะสม
                                                          

ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น  หมู่บ้านนาซ่าวเป็นหมู่บ้านใหญ่อยู่ริมถนนมะลิวัลย์ หรือทางหลวงสาย 201
ก่อนถึงอำเภอเชียงคาน  ประมาณ  8  กิโลเมตร  มีประวัติความเป็นมาทางวัฒนธรรมประเพณีที่ชัดเจน  
มีการละเล่นต่อเนื่องตามบรรพบุรุษ  เป็นเวลากว่า  300  ปี  มีภาพปริศนาธรรมที่ฝาผนังโบสถ์บ้านนาซ่าว  
ขัดเกลาจิตใจผู้คนให้ตั้งมั่นอยู่ในศีลสัตย์บังเกิดความขยันขันแข็งและเอื้ออาทรต่อกัน
ประวัติการละเล่นผีขนน้ำบ้านนาซ่าว

                ประเพณีการละเล่นผีขนน้ำ (แมงหน้างาม) บ้านนาซ่าว  ตำบลนาซ่าว  อำเภอเชียงคาน  จังหวัดเลย  เป็นการละเล่นที่แตกต่างจากที่อื่นๆ ในเรื่องประวัติความเป็นมา ความเชื่อ ความศรัทธา  และวิถีชีวิตของชาวบ้านนาซ่าว อีกทั้งภูมิปัญญาของท้องถิ่นที่ยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมาทุกปี ผีขนน้ำ เป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวบ้านนาซ่าว  เริ่มเล่นเมื่อใดไม่ปรากฏประวัติที่แน่ชัด แต่ราว 300  กว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งชาวบ้านก็นิยมเล่นเป็นประเพณีปฏิบัติกันมาเช่นที่บรรพบุรุษเคยปฏิบัติ มาทุกปี ชาวบ้านนาซ่าวแต่เดิม เป็นชนกลุ่มน้อยเผ่าไทผวน ได้อพยพมาจากเมืองหลวงพระบางและเวียงจันทร์ โดยการนำของขุนหมื่นนารินทร์และเจ้าแสนคำบุญยอ ซึ่งอพยพมาเพียงแค่แปดครอบครัวเท่านั้น  จนมาถึงบริเวณที่เหมาะแก่การตั้งหลักแหล่งจึงตั้งชื่อบริเวณนี้ว่า “นาซำหว้า” เป็นพื้นที่ปลูกสร้างที่อยู่อาศัยและทำกินเรื่อยมา เนื่องจากผู้คนจำนวนมากขึ้นจึงเป็นสาเหตุให้ต้องขยายพื้นที่ทำกินมาถึงบ้านสองโนน  ซึ่งเป็นบริเวณโนนที่ราบที่ราบสูงเหมาะแก่การทำไร่ทำนา ในที่สุดก็ย้ายหมู่บ้านมาอยู่รวมกันและตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “สองโนนนาซำหว้า” ซึ่งต่อมาคือนาซ่าว ในปัจจุบันส่วนบริเวณบ้านเดิม คือ นาซำหว้า ก็กลับกลายเป็นไร่นาไปหมดสิ้น แต่ก่อนชาวบ้านยังไม่มีที่ยึดเหนี่ยวจิตใจแต่ยังคงนับถือผีบรรพบุรุษ  ผีปู่ย่า ตายาย เท่านั้น เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่แรกจากความเชื่อ  ความศรัทธานี้เอง จึงเกิดพิธีกรรมไหว้ผีบรรพบุรุษหรือพิธีกรรมเลี้ยงบ้าน ซึ่งเป็นพิธีบวงสรวงอัญเชิญวิญญาณ เจ้าปู่ ผีบรรพบุรุษ โดยมี จ้ำ (ร่างทรง) เป็นผู้ประกอบพิธีกรรมอัญเชิญผีบรรพบุรุษมาดื่มกินเครื่องเซ่นตามที่ได้จัดหาไว้ โดยจะประกอบพิธีนี้ที่ดอนหอ (ศาลเจ้าปู่) ของหมู่บ้าน ปัจจุบันตั้งอยู่ที่บ้านนาซ่าว หมู่ที่ 1  ติดกับถนนสายเมืองเลย-เชียงคาน 

    หลังพิธีกรรมเลี้ยงบ้านเสร็จสิ้นก็จะมีการร้องรำทำเพลงกันอย่างสนุกสนาน พิธีกรรมเลี้ยงบ้านนี้จะทำทุกปีๆละ 1 ครั้ง เท่านั้น ซึ่งเรียกว่า “การเลี้ยงเข้า” พิธีกรรมเลี้ยงบ้านนี้ถือเป็นพิธีกรรมจัดขึ้นเพื่อเป็นการระลึกถึงบุญคุณ  ผีเจ้าปู่ เจ้านา ตลอดจนผีบ้านผีเรือนในหมู่บ้านที่ได้ปกปักษ์รักษา คุ้มครองชาวบ้านให้อยู่เย็นเป็นสุขและผีวัวควาย ที่เคยทำไร่ ทำนา และเพื่อขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ ก่อนที่จะเริ่มฤดูกาล ทำไร่  ทำนา
   การละเล่นผีขนน้ำในแต่ละปีของชาวบ้านนาซ่าว กำหนดให้ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี 
เป็นวันจัดงานบุญ ผู้เล่นผีขนน้ำส่วนมากจะเป็นชายหนุ่มและเด็กๆ ในหมู่บ้านที่ชอบสนุกสานร่าเริง ผู้เล่นผีขนน้ำจะจัดแต่งหัวผีขนน้ำของตนเองเพื่อประกอบพิธีบวงสรวงผีบรรพบุรุษและให้ความบันเทิงแก่ชาวบ้านและนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชมหัวผีขนน้ำจะตกแต่งด้วยสีสดใสและเข้มเพื่อความเตือนเต้นในการแสดง  โดยใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีอยู่ในท้องถิ่นหาได้ง่าย ใช้เวลาทำและตกแต่งไม่มากนัก การแต่งกายใช้ที่นอนเก่าที่ใช้แล้วนำมาเย็บติดเป็นพลิ้วไหว เวลาเต้นจะดูสวยงาม มาสวมใส่เป็นเสื้อ ส่วนหัวเรือหน้ากาก จะนำไม้เนื้ออ่อน เช่น ไม้นุ่น ไม้ตีนเป็ด (ไม้สัตตบรรณ) ที่มีขนาดพอเหมาะแกะสลักเป็นรูปหน้ากากตกแต่งหน้าให้คล้ายกับหน้าวัวหรือควาย และอุปกรณ์ในการเคาะจังหวะ คือ กะลอ ที่ใช้ตีหรือเคาะมัดติดลำตัวด้านหลัง ผีขนน้ำและผู้ร่วมขบวนจะตีกลอง เคาะ เป่าแคน ดีดพิณ เพื่อให้เกิดจังหวะสนุกสานสลับกันไปเครื่องดนตรีที่ใช้และหาได้ง่ายๆในท้องถิ่น คือ        
1.กลองบั้ง หรือกลองทำด้วยหนังควาย   
2.พิณ หรือซึง     
3.กะลอ กระดิ่ง และอื่นๆ ที่ใช้แทนดนตรีได้
                                             
        การละเล่นผีขนน้ำของขาวบ้านนาซ่าว ยังยึดประเพณีการเล่นแบบดังเดิมทั้งจุดประสงค์การละเล่น ความเชื่อ รูปแบบพิธีการ การแต่งตัว อุปกรณ์ตกแต่งอื่นๆ ที่ชาวบ้านได้ช่วยกันอนุรักษ์รูปแบบผีขนน้ำอย่างแท้จริงเพื่อให้ลูกหลานได้เห็นเกิดการอนุรักษ์และยึดถือปฏิบัติตามประเพณีเยี่ยงบรรพบุรุษปฏิบัติกันมา  ซึ่งจะเป็นการครรลองสำคัญอย่างหนึ่งในการดำรงชีวิตร่วมกันในชุมชนและสิ่งที่ชาวบ้านนาซ่าวคาดหวังไว้ คือ “ผีขนน้ำ” จะต้องเป็นที่รู้จักอย่างแพรหลายของคนทั่วประเทศและทั่วโลก 



รูปแบบการจัดขบวน ปี 2561
               ในการจัดการปีนี้มีการจัดงานที่แตกต่างจากปีที่แล้ว ไม่ว่าการจัดรูปแบบขบวน การจัดขบวนปีที่แล้วเรามีการจัดขบวนแบ่งเป็นโซน แต่ปีนี้เราจัดขบวนเป็นรูปขบวนยาว ได้แก่ 
                         ขบวนที่ 1 ขบวนจ้ำเจ้าปู่  
                         ขบวนที่ 2 ขบวนเทิดพระเกียรติ
                         ขบวนที่ 3 ขบวนนางรำ ( จำนวน 100 คน )
                         ขบวนที่ 4 ขบวนผีขนน้ำ ( จำนวน 400 )
         ขบวนที่ 5 ขบวนการแสดงของ อบต.นาซ่าว

               แต่ละขบวนเราจะปล่อยขบวนพร้อมกันไม่มีการหยุดการแสดงเป็นจุดๆ เราจะแสดงตลอดเส้นทางเพื่อความสวยงาม และการแสดงปีนี้เราจะแสดงแบบดั้งเดิมโดยการใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านเคาะกะลอ ตีกลอง ตีฆ้อง  เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เข้าถึงแบบวิถีชาวบ้านจริงๆ โดยเราจะสลับกับแบบสมัยใหม่โดยการเปิดเพลงไปด้วยเพื่อความสนุกสนาน และมีบั้งไฟที่เข้าร่วมงานทุกหมู่บ้าน ระยะเวลาในการตั้งขบวนมีการกำหนดเวลาที่ชัดเจนขึ้น เพื่อกระชับเวลา และในการจัดงานปีนี้เราได้จัดงานในวันที่ 30 เมษายน - 2  พฤษภาคม  2561 และในวันเปิดงานคือวันที่  1  พฤษภาคม 2561   สถานที่ สนามกีฬา องค์การบริหารส่วนตำบลนาซ่าว  โดยจะเริ่มตั้งขบวนเวลา 08.00 น.  และได้ร่วมผีขนน้ำทุกตนที่นี้ ระหว่างทางที่แต่ละขบวนเดินทางไปที่วัดโพธิ์ศรี จะมีการร้องเล่นเต้นรำเพื่อสร้างความสุนกให้กับนักท่องเที่ยวและผู้มาร่วมงานและหวังว่าปีนี้จะเป็นอีกปีที่งานบุญประเพณีผีขนน้ำบ้านนาซ่าวของตำบลเราจะสร้างความสนุกสนานและเรียกนักเที่ยวให้มาเที่ยวได้งานได้มากยิ่งขึ้น



---Advertisement---